วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

งานวิจัยในชั้นเรียน

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง   ส่งเสริมทักษะการระบายสี สำหรับนักเรียนชั้น อนุบาล 1/3


1.   ความเป็นมา
กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมหนึ่งใน  6  กิจกรรมที่ครูได้ใช้ดำเนินการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน
และจากการจัดกิจกรรมนี้เอง  ครูผู้สอน   พบว่า    ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งมีทักษะพื้นฐานทางการระบายสีที่ดี แต่ยังมีข้อควรปรับปรุงอีกเล็กน้อย   ซึ่งครูผู้สอนได้เล็งเห็นว่า  หากมีการฝึกทักษะเป็นลำดับขั้นตอนอย่างถูกวิธี    จะช่วยส่งผลให้นักเรียนมีทักษะที่ถูกต้อง  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีความสนใจที่จะทำวิจัยในเรื่องนี้เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและเป็นพื้นฐานการเรียนวิชาศิลปะต่อไป

2.   วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.   เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนระบายสีได้ถูกต้องตามขั้นตอน
2.   เพื่อให้นักเรียนระบายสีตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้

3.   สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกมีทักษะการระบายสีหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก

4.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.   นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก
2.   นักเรียนระบายสีได้เรียบร้อย สวยงาม ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

5.   ขอบเขตของการวิจัย
1.   ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นการส่งเสริมทักษะการระบายสี โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์และแบบฝึกทักษะ
2.   ประชากรในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนอนุบาล 1/3  โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2546

6.   วิธีดำเนินการวิจัย
6.1  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นอนุบาล  1/3  ปีการศึกษา  2546   จำนวน  5  คน
6.2   ตัวแปรที่ศึกษา
6.2.1   ตัวแปรต้น  ได้แก่   แผนการจัดประสบการณ์และแบบฝึกทักษะ
6.2.2   ตัวแปรตาม  ได้แก่   ความสามารถในการระบายสี
6.3   วิธีการนำไปใช้  ใช้ฝึก ช่วงเวลาพักเที่ยง  30  นาทีต่อครั้ง  โดยใช้ใบงานที่ครูกำหนดและมีการวัดผลดังนี้
6.3.1   ให้ระบายสีก่อนการใช้แบบฝึก  1  ครั้ง
6.3.2   ฝึกทักษะตามแบบฝึกที่กำหนดไว้และมีการตรวจผลงานเป็นระยะ ๆ
6.3.3   ให้ระบายสีหลังการฝึกทักษะ 1 ครั้ง
6.4   การเก็บรวบรวมข้อมูล
6.4.1   ข้อมูลที่เก็บ  ได้แก่   ความสามารถในการระบายสี
6.4.2   วิธีการที่ใช้ คือ การตรวจผลงาน
6.4.3   เครื่องมือที่ใช้ คือ บันทึกผลการตรวจผลงาน
6.5   วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
6.5.1   เปรียบเทียบความสามารถในการระบายสีก่อนและหลังการฝึก
6.5.2   เปรียบเทียบความก้าวหน้าในการระบายสีเป็นระยะ ๆ ในระหว่างการฝึก
6.6  สถิติที่ใช้  ได้แก่      ค่าเฉลี่ย ( X )
7.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล   ดังแสดงในตาราง
   7.1.  คะแนนความสามารถในการระบายสีก่อนและหลังการฝึก
ตารางที่  1    เปรียบเทียบความสามารถในการระบายสีของนักเรียน  ชั้นอนุบาล 1/3    
                                   ก่อนและหลังการฝึก  จำนวน    5   คน   (คะแนนเต็ม  3  คะแนน)


จากตารางที่  1  พบว่า   คะแนนเฉลี่ยก่อนฝึกของนักเรียนเท่ากับ  1.40  คะแนนเฉลี่ยหลังฝึกเท่ากับ  3.00    ดังนั้น  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย     =   3.00 – 1.40
                     =   1.60
      แสดงว่า  ภายหลังการใช้แบบฝึกทักษะการระบายสี  นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีดีขึ้น
7.2  คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าในการระบายสี
   ตารางที่   2    ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียนอนุบาล 1/3  จากการฝึก  5  ครั้ง

จากตารางที่  2  พบว่า  คะแนนความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียนจากการใช้ภาพทดสอบ  5  ครั้ง  เท่ากับ  1.40 , 2.00 , 2.00 , 2.40  และ  3.00  ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านักเรียนกลุ่มนี้มีความก้าวหน้าในการระบายสีสูงขึ้น

8.  สรุปและอภิปรายผล
8.1   สรุปผล
ภายหลังการฝึกทักษะการระบายสีด้วยแบบฝึกทักษะที่ครูกำหนดขึ้น ซึ่งมีลำดับขั้นจากภาพ
ที่มีองค์ประกอบน้อยไปจนถึงภาพที่มีองค์ประกอบและรายละเอียดมาก  ปรากฎว่า  นักเรียนชั้นอนุบาล  1/3  ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  5  คน  มีทักษะการระบายสีที่ดีขึ้น
8.2   อภิปรายผล
จากผลการใช้แบบฝึกทักษะการระบายสี ปรากฎว่า นักเรียนมีความสามารถในการระบายสีดี
ขึ้น    ซึ่งเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการระบายสีของนักเรียน   พบว่า    นักเรียนมีพัฒนาการในการระบายสีดีขึ้นตามระยะเวลาและจำนวนกิจกรรมที่ฝึกและเมื่อสิ้นสุดการฝึกก็พบว่านักเรียนทั้ง 5 คน สามารถระบายสีได้ดีมาก      สามารถกำหนดสีได้เหมาะสมกับภาพ      ระบายสีได้อย่างสวยงาม มีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์  แสดงว่าแบบฝึกที่ครูกำหนดขึ้นประกอบกับการให้คำชี้แนะนักเรียนเป็นรายบุคคล   ช่วยส่งเสริมทักษะการระบายสีของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.   ข้อเสนอแนะ
1.  ควรปรับใช้กิจกรรมนี้ฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ยังขาดทักษะการระบายสี
2.  ควรเผยแพร่ผลงานให้ครูคนอื่นได้นำไปทดลองใช้